อิทธิวัตถุมงคล วัดพุทไธศวรรย์


สุดยอดมวลสารและวัตถุมงคล

ในการจัดสร้างวัตถุมงคล ท่านพ่อจตุคามรามเทพ วัดพุทไธศวรรย์ พระพิมพ์เนื้อผงทุกรุ่นนอกจากจะมีส่วนผสมของมวลสารหลักต่างๆ ที่มีคุณวิเศษนับนานาประการ เช่น ผงว่าน ๑๐๘, ผงพระกรุเก่าสมัยอยุธยา, พระผงสริยัน-จันทรา ปี ๓๐, ผงธูปและดินหลักเมืองทั่วประเทศ, ผงใบลานเก่าสมัยอยุธยา ฯลฯ ยังมีสุดยอดของมงคล ซึ่งมากด้วยประสบการณ์ นั่นก็คือ ผงพรายกุมาร อันโด่งดัง รวทั้งเส้นเกศาและเถ้าอังคาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง โดยครูเย็น คำมี ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงปู่ทิมเป็นผู้มอบให้ และให้วัดพุทไธศวรรย์เพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลท่านพ่อจตุคามรามเทพ เพียงวัดเดียวเท่านั้น และในการสร้างวัตถุมงคลองค์ท่านพ่อจตุคามรามเทพเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ ของวัดพุทไธศวรรย์ ครูเย็น ท่านจะเป็นผู้ผสมผงต่างๆ ด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นผู้กดพิมพ์สร้างวัตถุมงคลให้ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่มีผู้สงสัยว่าทำไม พระพิมพ์เนื้อผงท่านพ่อจตุคามรามเทพ วัดพุทไธศวรรย์ จึงมีเนื้อหาเหมือนกันกับพระพิมพ์ขุนแผนผงพรายกุมาร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ยิ่งนัก

01 อิทธิวัตถุมงคล วัดพุทไธศวรรย์

 

ตะกรุดสาลิกา วิชาหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

02.1 ตะกรุดสาลิกา วิชาหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ 02.2 ตะกรุดสาลิกา วิชาหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

วัตถุมงคลท่านพ่อจตุคามรามเทพ วัดพุทไธศวรรย์ ในแบบพิมพ์เนื้อผงนอกจากจะมีส่วนผสมมวลสารที่สุดยอดแล้ว ในแบบที่เป็นพิมพ์พิเศษก็จะมีวัตถุมงคลฝังไว้ โดยส่วนใหญ่จะฝังไว้ด้านหลังของพระพิมพ์ หนึ่งในวัตถุมงคลนั้นก็คือ ตะกรุดสาลิกา อาจจะพบเห็นทั้งฝังดอกเดียว หรือเป็นคู่ โดยครูเย็น คำมี จะเป็นผู้ทำให้ตามตำราที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นตะกรุดขนาดเล็กทำด้วยแผ่นทองแดง หรือแผ่นโลหะชุบทอง, ชุบเงิน, มีพุทธคุณสูงทางด้านเมตตา มหานิยม เหมาะกับผู้ที่มีอาชีพค้าขาย การเจรจาติดต่อธุรกิจ การเข้าหาเจ้านายหรือผู้หลักผู้ใหญ่ จะได้รับความเมตตา

 

พญาเหล็ก หลวงปู่หวล แห่งวัดพุทไธศวรรย์

วัตถุมงคลท่านพ่อจตุคามรามเทพ วัดพุทไธศวรรย์ ที่เป็นพระพิมพ์พิเสษ มีผู้ศรัทธาและแสวงกันมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระพิมพ์ที่ฝัง พญาเหล็ก หรือเหล็กไหล ซึ่งเป็นวัตถุมงคลสำคัญที่ หลวงปู่หวล เจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ เมตตามอบให้เพื่อฝังในพระพิมพ์แบบต่างๆ

03.1 พญาเหล็ก หลวงปู่หวล แห่งวัดพุทไธศวรรย์ 03.2 พญาเหล็ก หลวงปู่หวล แห่งวัดพุทไธศวรรย์ 03.3 พญาเหล็ก หลวงปู่หวล แห่งวัดพุทไธศวรรย์

นับแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงเหล็กไหลแล้ว ทุกคนดูเหมือนว่าจะรู้ว่าหมายถึงอะไร เมื่อทุกคนได้ยินคำสองพยางค์นี้แล้วไม่ว่าจะเคยเห็นของจริงหรือไม่ก็ตามจะ นึกภาพออกว่า มีลักษณะและสีสันเป็นอย่างไร พร้อมกันนี้จะเกิดความรู้สึกได้ว่าปืนยิงไม่ออก คงกะพัน แคล้วคลาด ปลอดภัย และที่สำคัญก็คือ มีความมันแวววาว นั่นหมายถึง เหล็กไหล

เกจิทางด้านเหล็กไหล ท่านมักจะไม่เรียก เหล็กไหล แต่จะเรียกว่า พญาเหล็ก หรือ นางพญาเหล็ก หรือเจ้าแม่ทองธรรมชาติ และผู้รู้อีกหลายท่านบอกว่าเหล็กไหลนั้นมีชื่ออื่นอีก ได้แก่ เหล็กหลาย หรือ แร่กินดินปืน หรือสมิงเหล็ก

จากข้อความบางส่วนของหนังสือ “เหล็กไหลมีจริงที่นี่” พระอาจารย์สิทธา เชตวัน ได้บันทึกไว้ว่า “…พระอาจารย์ชำนาญ ญานฺตตโร พระภิกษุผู้เรืองเวทย์รูปหนึ่ง ท่านมีเชื้อสายเขมร ท่านเปิดเผยต่อท่านว่า เหล็กไหลเป็นโลหะธาตุแปลกประหลาดที่มีชีวิต เป็นวิบากของกฎแห่งกรรม บันดาลให้วิญญาณอยู่ในสังสารวัฏ มาปฏิสนธิในสภาวะที่เป็นโลหะธาตุ เหล็กไหลเคลื่อนไหวได้ เสพบริโภคน้ำผึ้งได้ ขับถ่ายได้ เสพกามได้เพราะมีทั้งเพศผู้ เพศเมีย แต่การเสพกามของเหล็กไหล เป็นการเสพทางกระแสจิตวิญญาณ เพียงแต่ความรู้สึกความใคร่กามารมณ์ โดยไม่ต้องสัมผัสกัน และสถานที่อยู่อาศัยนั้น เหล็กไหลชอบสถานที่สงบตามน้ำ การพักผ่อนเหมือนการเข้าฌาณ ดังนั้นจึงถือไดว่า เหล็กไหลเป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเทพ เป็นเทพที่มาใช้วิบากกรรมในโลก เหล็กไหลจึงมีทั้งพวกเทพที่เป็นยักษ์ ที่เป็นคนธรรพ์คอยอารักขาอยู่ตลอดเวลา เหล็กไหลที่พบกันจึงมีหลากหลาย

เล่าสืบต่อกันว่า เหล็กไหลจะอาศัยรวมๆ กันเรียกว่าอาณาจักร ส่วนหนึ่งที่เป็นอาหารของเหล็กไหลก็คือ ธาตุเหล็ก กินธาตุเหล็กก็เพื่อใช้ในการตั้งธาตุ ปรับธาตุให้เกิดความสมดุล เมื่อกินธาตุเหล็กเข้าไปเพื่อปรับปรุงโครงสร้าง มันก็จะคายหรือขับถ่ายสิ่งที่เหลือออกมาเรียกกันว่า ขี้เหล็กเไหล มีลักษณะเหมือนเหล็กที่เนื้อไม่แน่น เหมือนเหล็กที่ผุตัวลงไป ไม่มีความแข็งแกร่งเท่าตัวเหล็กไหล สีสันออกดำด้านๆ แข็งกระด้างไม่มีประกายแวววาว ส่วนใหญ่จะเห็นที่พื้น โดยตกลงมาจากผนังถ้ำ หน้าผาสูง หรือชะโงกเงื้อม เมื่อตกลงมาแล้วมักจะสะสมทับถมคล้ายจอมปลวก มีขนาดต่างๆ เล็กเท่าหัวแม่มือ ลูกมะนาว ส้มโอ ลูกมะพร้าว มีพระเกจิหลายรูปนำไปผสมกับโลหะต่างๆ สร้างเป็นพระเครื่อง พระบูชา ท่านว่าขลังมาก ผู้รู้กล่าวกันว่าเหล็กไหลมี ๒ ประเภท

๑. เหล็กไหลตามธรรมชาติ
๑.๑ เหล็กไหลตัด
เป็นเหล็กไหลที่อาศัยอยู่ตามถ้ำ ตามป่าเขา ยังไม่แข็งตัว ยังอยู่ภายในอาณาจักรของมัน เมื่อถูกตัดออกมาจากอาณาจักรและถูกสภาพอากาศภายนอก จะทำให้เหล็กไหลแข็งตัวคงรูปคงร่างเป็นรูปพรรณสัญฐานต่างๆ กลายเป็นรูปร่างที่แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ เหล็กไหลตัดมีฤทธิ์อำนาจมากเป็นพิเศษ

๑.๒ เหล็กไหลบารมี เป็นเหล็กไหลที่เกิดจากแรงอธิษฐาน เพื่อให้เกิดบารมีที่จะนำมาช่วยเหลือหมู่มวลมนุษย์ อาศัยบุญบามีและฤทธิ์อำนาจจากฌาณสมาบัติที่ถูกสะสะมไว้ในธาตุกายสิทธิ์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางโลกและทางธรรม โดยที่มิได้ใช้เวทมนตร์เข้าไปบีบบังคับเพื่อที่จะตัดเหล็กไหล เป็นการสละธาตุขันธ์ หลุดตัวออกมาสู่โลกภายนอก ยินยอมเปิดบุญบารมีให้แก่ผู้มีบุญบารมี เหล็กไหลบารมีจึงเป็นเหล็กไหลที่พบเห็นในสภาพที่กำลังไหลตามธรรมชาติ เหล็กไหลดำ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

๒. เหล็กไหลหุง
คุณวีระศักดิ์ สินธุวงศ์ ได้กล่าวถึงเหล็กไหลหุงไว้ว่า “พระอริยะในยุคก่อนๆ ที่ของปลีกตัวเข้าสู่ความสงบวิเวก ตามป่า ตามถ้ำ ตามเขาเพียงลำพัง เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น เมื่อแสดงหาความหลุดพ้น เมื่อจาริกธุดงค์รอนแรมไปตามป่าเขา มักจะได้พบกับแร่ธาตุที่มีฤทธิ์ มีอำนาจอยู่ในตัว โดยเฉพาะแร่เงินยวง ไหลเพชรดำ โคตรเหล็กไหล โคตรทรหด เป็นต้น ท่านจะเก็บไว้เพื่อทดสอบฌาณสมาบัติของตนเอง ว่ามีเจโตปริยญาณสมาบัติในระดับใด เนื่องเพราะทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่มี ที่เป็นอยู่ ก็เกิดขึ้นหรือมาจากสายณะธรรมในการฝึกฝนปฎิบัติต่อจิตมาก่อน เมื่อสามารถติดต่อกับ เทพ เทวา พรหม เจ้าที่ เจ้าทาง จิตวิญญาณชั้นสูง และผู้มีฤทธิ์อำนาจหรือผู้เป็นเจ้าของธาตุศักดิ์สิทธิ์ได้แล้ว จึงแสดงเจตนารมณ์ของตนว่าจะขอนำวัตถุธาตุที่มีฤทธิ์เหล่านั้นมาศึกษา นำมาทดลองเพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองแล้ว จึงเก็บธาตุที่มีฤทธิ์อำนาจหรือสมุนไพรต่างๆ จำพวกต้นหิ่งหาย ไม้โมก ไพรดำ ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด ส้มป่อย ส้มเสี้ยว เขียวพันปี เขียวหมื่นปี ว่านยาต่างๆ ภายหลังก็จะนำสมุนไพรมาตำแล้วคั้นเอาน้ำ เรียกว่า น้ำสมันไพรธาตุ จากนั้นก็นำไปหลอมรวมกับโลหะธาตุ ซึ่งบางครั้งก็ทำได้สำเร็จได้เหล็กไหล แต่บางครั้งก็ไม่สำเร็จ

การหุงเหล็กไหลให้สำเร็จในแต่ละครั้งจะได้เพียงเล็กน้อย ชั่วชีวิตอาจทำได้เพียงขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น เหล็กไหลหุงจะมีฤทธิ์อำนาจมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับบุญบารมีของผู้ทำการหุง และเจตนาในการหุงวา จะนำไปใช้ในการใด มีฌาณสมาบัติมากน้อยเพียงใด เพราะกรรมวิธีในการหุงธาตุกายสิทธิ์จะต้องมีการเสกไปในขณะหุงด้วย ส่วนประกอบที่เป็นโลหะธาตุนั้นแตกต่างกันไปตามความต้องการ ว่าจะให้ผลสำเร็จเป็นอะไร เช่น เมฆพัดเงิน เมฆพัด ทองแดง นวะโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจะโลหะ ซึ่งในยุคปัจจุบันนั้น เครื่องไม้เครื่องมือค่อนข้างจะพร้อมในการหุง จึงทำการเคี่ยวให้หลอมละลายเป็นของเหลวแล้วนำไปเทลงในเม่พิมพ์ที่จัดเตรียม ไว้แล้ว ทิ้งจนเย็นก็จะได้รูปทรงที่แข็ง ทนทาน จากนั้นก็นำไปเจียระไนจนแวววาว เงามันสวยงาม เหล็กไหลหุงนี้ บางท่านให้ความเห็นว่า น่าจะมิใช่เหล็กไหล แม้จะมีพุทธคุณคล้ายเหล็กไหลก็ตาม แต่ควรจะเรียกว่า ธาตุกายสิทธิ์ตระกูลเหล็กไหล”

สีสันวรรณะของเหล็กไหล
สีสันวรรณะของเหล็กไหลแตกต่างกันไป ว่ากันว่าเหล็กไหลมี ๗ สี ด้วยกันและนอกจากนั้นอาจจะแตกต่างไปจากนี้บ้าง ในลักษณะผสมกัน สีสันของเหล็กไหลทั้ง ๗ สี ได้แก่ สีเขียวปีกแมลงทับ หรือสีเขียวขนเป็ด หรือเขียวมรกต สีท้องปลาไหลหรือสีน้ำตาลอ่อน สีเปลือกมังคุดหรือสีน้ำตาลไหม้ สีเงินยวงหรือขาวกว่าแร่เงินบริสุทธิ์ สีทองคล้ายทองคำ สีดำแวววาว และสีที่แตกต่างไปจาก ๖ สีข้างต้น เหมือนกับเป้นลักษณะผสมสีต่างๆ

เหล็กไหล เจ้าแม่ทองธรรมชาติ
ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ จำกัดความว่า
“เหล็กไหล เป็นโลหะชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าเอาไฟเทียนลน ก็ไหลย้อยออกมาได้ ผู้รู้หลายท่านกล่าวทำนองเดียวกันว่า เรื่องราวของเหล็กไหลเป็นเรื่องของความลี้ลับโดยธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับอิทธิปาฏิหารย์ เกี่ยวข้องกับเทพ เทวา พรหม อันอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ผู้ที่บำเพ็ญศีลภาวนาจนมีจิตละเอียด จึงจะสัมผัสความพิสดารเหล่านี้ได้”

และมีนักวิชาการท่าหนึ่งเขียนเกี่ยวกับเหล็กไหลได้อย่างลึกล้ำและน่าสนใจว่า
“เหล็กไหล มีอานุภาพเหนืออาคมทั้งปวง ไม่มีอาคมของผู้ใดจะบีบบังคับให้เหล็กไหลยอมจำนนได้ มีแต่คำเชิญที่ไพเราะ ถูกต้องตามครรลองเท่านั้นจึงจะได้เหล็กไหล”

 

หลวงพ่อหวล ภูริภทฺโท แห่งวัดพุทไธศวรรย์

 

พระครูภัทรกิจโสภณ หรือ หลวงพ่อหวล ภูริภทฺโท เดิมท่านชื่อ หวล การเกตุ ท่านเป็นบุตรของ คุณพ่อไล้ คุณแม่เสงี่ยม การเกตุ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตรงกับวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พื้นเพเดิมอยู่ ตำบลสามง่าม อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง มีพี่น้อง ๓ คน ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านบรรพชาที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ในขณะนั้นหลวงพ่อยอด หรือพระครูสาธุกิจโกศล (ต่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพุทไธศวรรย์ เจ้าคณะตำบลสำเภาล่ม) ยังอยู่ที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร และเข้ารับการอุปสมบทที่วัดพุทไธศวรรย์ เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยมีพระราชธานินทร์ (หลวงพ่อเจิม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกุศลธรรมธาดา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ยอด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาทางพระภิกษุว่า ภูริภทฺโท ท่านใช้ชีวิตอยู่ในสมณะเพศด้วยความมุ่งมั่น และด้วยเป็นพระที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบตลอดมา จึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาส วัดพุทไธศวรรย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ แทนพระครูสาธุกิจโกศล ที่มรณภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ญาติโยมพร้อมใจกันให้พระภิกษุหนุ่ม พระหวล การเกตุ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์

หลวงพ่อหวล ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในการแสดงหาความรู้ ด้านต่างๆ ตลอดจนการศึกษาวิชาอาคมและหนึ่งในวิชาอาคมอันสุดยอดของท่านก็คือ วิชาอาคมเรียกและเชิญเหล็กไหล หรือพญาเหล็กไหล สุดยอดแห่งธาตุกายสิทธิ์ที่ทุกคนปรารถนาได้มาครอบครอง โดยหลวงพ่อหวล ท่าได้เรียนวิชาอาคมดังกล่าวมาจากอาจารย์ฆราวาสท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อเดิม หรือพระครูนิวาสธรรมขันธ์ แห่งวัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ สุดยอดพระเกจิที่โด่งดังมากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

หลวงพ่อหวล ได้ศึกษาวิชาอาคมจากพระอาจารย์ฆราวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จนสำเร็จ ผ่านไปสักระยะหนึ่ง ด้วยมีแรงผลักดันให้ท่านต้องออกแสวงหาเหล็กไหลให้ได้ ไม่เช่นนั้นความตั้งใจที่จะบูรณะวัดของท่าทนไม่มีทางสำเร็จได้ในเวลาอัน สมควร ท่านจึงต้องออกไปแสวงหาตามป่าเขา ลำเนาไพร โดยมีพระอาจารย์ฆราวาสเป็นผู้คอยแนะนำในระยะแรก

เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด
ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อาจารย์ฆราวาสพาหลวงพ่อ ไปหาเหล็กไหล ก่อนไปจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์หลายอย่างที่สำคัญๆ ได้แก่ หุ่นที่ทำจากขี้ผึ้งบริสุทธิ์ (หุ่นนี้มีความสำคัญ เพราะเหล็กไหลจะก่อตัวขึ้นเหมือนหุ่นดังกล่าว แต่ขนาดจะเล็กกว่ามาก) น้ำผึ้งบริสุทธิ์ ด้ายสายสิญจน์ บาตร หรือถังและอุปกรณ์ปลีกย่อยต่างๆ

 

05.1 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด 05.2 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด 05.3 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด

 

ในการหาเหล็กไหลจะต้องสังเกตถ้ำที่จะเข้าไปหาว่ามีลักษณะตามตำราหรือไม่ เช่น ถ้าน้ำจะต้องสะอาด ไม่มีมูลสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น มูลเสือ มูลช้าง มูลงู หรือมูลค้างคาว ถ้ำนั้นจะต้องมีอากาศเย็น ชุ่มชื้น ต้องสงบเงียบ วังเวง ให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม และเมื่อมีโอกาสได้ถามหลวงพ่อว่า ท่านรู้ได้อย่างไรว่าถ้ำไหนจึงจะมีเหล็กไหลหรือพญาเหล็ก หลวงพ่อท่านบอกว่า การสังเกตนั้น จุดแรกให้ดูว่ามีน้ำไหล มีคราบ และเมื่อนำน้ำผึ้งและน้ำมนตร์ราด ทาก็จะเกิดประกาย

หลวงพ่อได้เล่าต่อว่า จากนั้นก็จะเป็นเรื่องของกรรมวิธี โดยการนำน้ำผึ้งไปชโลมบริเวณนั้น แล้วนำสายสิญจน์ที่ชุบด้วยน้ำผึ้ง ไปผูกโยงจากจุดที่สังเกตแล้วว่าน่าจะมีเหล็กไหล ลงมายังบาตรที่ใส่น้ำผึ้งไว้ในบาตรจะใส่หุ่นเทียนด้วยก็ได้ (จะได้เหล็กไหลตามรูปแบบของหุ่นเทียน) หุ่นที่ใส่ลงในบาตรจะใส่ครั้งละหลายตัว ส่วนมากหลวงพ่อจะใส่ไว้ ๑๐๘ ตัว หุ่นเทียนบริสุทธิ์นี้ จะสอดไส้เหมือนเทียนไข แต่ว่าที่ปลายจะมีไส้ยื่นออกมาทั้งสองด้าน ไส้ของหุ่นด้านหนึ่งจะถูกนำมาผูกรวมกัน แล้วผูกติดกับสายสิญจน์ที่โยงลงมาจากผนังถ้ำ ไส้อีกปลายด้านหนึ่งของหุ่นก็จะถูกนำมารวมกัน แล้วหลวงพ่อจะจับไว้ ขณะทำพิธีต้องใช้คาถามิให้เหล็กไหลที่ไหลงมาตามสายสิญจน์ไหลลงดินหมด นำน้ำผึ้งมาชดลมหุ่นที่อยู่ในบาตร หรือในถัง จากนั้นใช้คาถาเรียกเหล็กไหลให้ลงมากินน้ำผึ้งในถัง อาจจะใช้เวลาประมาณ ๑-๓ ชั่วโมง ก็สุดแล้วแต่หลวงพ่อ ท่าจะรู้ด้วยสัมผัสพิเศษตามที่ศึกษามา เมื่อได้เวลาท่านก็จะทำการตัดสายสิญจน์ โดยการใช้เที่ยนเผาด้ายสายสิญจน์ที่โยงลงมาจากผนังถ้ำ เมื่อเอาไฟจากเปลวเทียนเผา ด้ายสายสิญจน์จะแดงเหมือนไฟ ถ้าสายสิญจน์ขาดก็หมายถึงได้เหล็กไหล (สภาพเหลวข้น หรือรูปแบบลักษณะตามหุ่นที่ใส่ในบาตร) แต่หากสายสิญจน์ไม่ขาดก็เลิกกัน ขาดก็ได้ ไม่ขาดก็ไม่ได้ เลิกกัน

 

 05.4 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด 05.5 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด 05.6 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด

05.7 เหล็กไหล เพื่อการบูรณะวัด

 

เมื่อได้เหล็กไหลในสภาพเหลว ก็จะนำมาประกอบพิธีให้แข็งตัวภายนอกถ้ำ แต่หากต้องการทำให้เสร็จ(แข็งตัว)ภายในถ้ำเลย ก็ต้องใส่หุ่นเทียนลงไปในบาตรหรือถัง เมื่อเหล็กไหลลงมากินน้ำผึ้งในบาตรหรือในถังแล้ว ก็เผาหุ่นเทียนในบาตรหรือในถัง เมื่อหุ่นเทียนละลายหมดหลวงพ่อก็ะพรมน้ำมนตร์ให้เหล็กไหลแข็งจัว จากนั้นก็จะทิ้งให้เหล็กไหลเย็นตัวลง ก็จะได้เหล็กไหลที่มีรูปทรางตามหุ่นเทียนก่อนเผา แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนจำนวนจะมากเทาใดก็ขึ้นอยู่กับการก่อตัวของเหล็กไหล ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการทำความสะอาด ก็จะได้เหล็กไหลรูปแบบเหมือนหุ่นที่ แวววาว สวยงามตามธรรมชาติ

เหล็กไหลที่ลงมากินน้ำผึ้ง (สภาพเหลวข้น) บางครั้งจะนำกลับออกมาในลักษณะที่เป็นน้ำเหลวข้นซึ่งประกอบด้วยเหล็กไหลกับ น้ำผึ้ง จะนำออกมาผ่านกรรมวิธีโดยเผาหุ่นเทียนนอกถ้ำ หรือนำกลับไปทำที่วัดโดยใช้หุ่นเทียนบริสุทธิ์เป็นแบบเช่นกัน

06.2 เหล็กไหลหรือพญาเหล็ก 06.3 เหล็กไหลหรือพญาเหล็ก

06.1 เหล็กไหลหรือพญาเหล็ก 06.4 เหล็กไหลหรือพญาเหล็ก 06.5 เหล็กไหลหรือพญาเหล็ก

เหล็กไหลหรือพญาเหล็กที่หลวงพ่อหวลทำตามหุ่นนั้น อาจจะเป็นพระเครื่อง หรือเคื่องรางลักษณะเป็นเม็ดเรียวคล้ายเมล็ดข้าวสาร แค็ปซูลยา ไข่ไก่ หยดน้ำ ลอนตาล หัวแหวน แหวน กำไล หรือ อื่นๆ ตามแต่ที่ท่านตั้งใจไว้ ส่วนสีของเหล็กไหลก็จะสีสันแตกต่างกันไป ตามแต่ละถ้ำ แต่ละสถานที่

จะเห็นได้ว่าในแต่ละครั้งที่หลวงพ่อเดินทางไปหาเหล็กไหล เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและลำบากมากพอสมควร อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่หลวงพ่อใช้ในแต่ละพิธีเป็นจำนวนค่อนข้างสูง แต่ก็เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสุดยอดแห่งอิทธิมงคลจากธรรมชาติ เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาและผู้สนใจ ได้ร่วมทำบุญสร้างเสนาสนะและบูรณะทำนุบำรุง วัดพุทไธศวรรย์ และได้วัตถุมงคลไว้บูชา

(จากหนังสือ เหล็กไหล…เจ้าแม่ทองธรรมชาติ วัดพุทไธศวรรย์ โดย สมิงเหล็ก)